อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อนระหว่าง LM-80, LM-79 สองสิ่งนี้คือ ผลการทดสอบโคมไฟ LED ซึ่งจะทำให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ โคมไฟ หลอดไฟ LED ต่างๆ ได้อย่างมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อไปนั้นจะมีอายุการใช้งาน ความสว่างที่เพียงพอ คุ้มค่ากับระยะเวลาและราคาอย่างมั่นใจ
LM-79 คืออะไร?
LM-79 หมายถึง รายงานการทดสอบวัดค่าการส่องสว่าง การกระจายความเข้มของแสง และคุณสมบัติของอุณหภูมิแสง ผลการทดสอบการกระจายแสงและความเข้มของแสงตามมาตรฐาน LM-79 จะแสดงในรูปแบบกราฟ TUBULAR , POLAR ผลการทดสอบ ด้านอุณหภูมิของแสง แสดงผล ในรูปของกราฟ ที่เรียกว่า SPECTRUM POWER DISTRIBUTION (SPD) สามารถประเมินปริมาณแสง ที่ความยาวคลื่น (ในหน่วยของ MILLIWATT PER NANOMETER หรือ mW/nm)
- โดยมีพารามิเตอร์การวัดหลักดังนี้:
- การวัดไฟฟ้า: แรงดัน, กระแส, กำลังและตัวประกอบกำลัง
- การวัดสี: CCT, CRI และพิกัดสี
- การวัดเชิงแสง: ฟลักซ์ส่องสว่างและประสิทธิภาพการส่องสว่าง
LM-80 คืออะไร?
LM-80 หมายถึง รายงานการทดสอบวัดค่าเสื่อมสภาพลูเมน (แสงลดลง) ของเม็ด LED หลอด LED นั้นจะมีระยะเวลาในการใช้งานอยู่ที่ 50,000 ชั่วโมง แต่เราจะไม่ทราบเลยว่า ความสว่างของ LED นั้นจะลดลงเมื่อไร การใช้งานทั่วไปตามบ้านเรือน อาจจะเปลี่ยนหลอดไฟ LED หรือโคมไฟ LED เมื่อแสงดับสนิท แต่ทราบหรือไม่ว่า บางสถานที่ เช่น โรงพยาบาล (ห้องผ่าตัด) หรือโรงงานขนาดใหญ่ จำเป็นมากต้องมีความสว่างเพียงพออยู่เสมอ ถึงแม้ว่า หลอดไฟจะยังสามารถใช้งานได้อยู่ แต่ก็ควรเปลี่ยน เพื่อรักษาค่าความสว่างให้สม่ำเสมอตามมาตรฐานตลอดเวลา จึงมีการทดสอบโดยทั่วไปแล้ว จะทดสอบความสว่างอย่างน้อย 6,000 – 10,000 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ ต่างกัน 3 ระดับอุณหภูมิ คือ 50 องศา , 85 องศา และอีกหนึ่งอุณหภูมิ ให้ผู้ผลิตเป็นผู้เลือกอุณหภูมิเพื่อทำการทดสอบเอง โดยวัดค่ากำลังส่องสว่าง ทุกๆ 1,000 ชั่วโมง จะได้ค่าความส่องสว่างที่ลดลง จะถูกนำมา พล็อตกราฟ และเทียบบัญญัติไตรยางค์ เพื่อคาดการณ์ค่าความส่องสว่าง ถึง 60,000 ชั่วโมง เมื่อค่าความส่องสว่างลดลง 30 % แสดงว่า LED หมดอายุการใช้งาน และควรเปลี่ยนใหม่ เพื่อรักษาค่าความส่องสว่างในพื้นที่ใช้งานให้เป็นไปตาม มาตรฐานค่าความส่องสว่าง (ลักซ์) (Lux) ต่อไป
TM-21 คืออะไร?
TM-21 เป็นวิธีการรับรองสมาคมวิศวกรรมแห่งอเมริกาเหนือ (IESNA) สำหรับการถ่ายข้อมูล LM-80 และการประมาณการอายุการใช้งาน LED ที่มีประโยชน์ มาตรฐานนี้ใช้กับการฉายอายุการใช้งานของแพ็คเกจ LED, อาร์เรย์หรือโมดูลเพียงอย่างเดียว ผลที่ได้สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ไขอายุการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสง LED ภายในระบบ (โคมไฟหรือโคมไฟรวม) โดยใช้อุณหภูมิเคสแหล่งกำเนิดแสง LED
ความแตกต่างของ LM-80 และ LM-79
LM-79
1. เป็นวิธีการที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการวัดค่าทางไฟฟ้า และทางแสงของผลิตภัณฑ์
2. ไม่ระบุจำนวนการสุ่มตัวอย่างไปทดสอบ
3. รายงานการทดสอบประสิทธิภาพของ LED
LM-80
1. เป็นวิธีที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการวัดค่าความสว่าง ของ LED
2. ระบุจำนวนการสุ่มตัวอย่างที่ทดสอบ
3. รายงานการทดสอบอายุการใช้งานของ LED
การทดสอบหาอายุการใช้งานสำหรับหลอด LED ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ เพราะหลอด LED จะมีอายุมากกว่า 50,000 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 5.6 ปี
ส่วนมาตรฐาน TM–21: Lumen Depreciation Lifetime Estimation Method for LED Light Sources จึงได้ให้วิธีเทียบ “บัญญัติไตรยางศ์” จากข้อมูลในช่วงเวลาที่สั้นเพื่อคาดการณ์ค่ากำลังส่องสว่างตลอดช่วงเวลาหลายหมื่นชั่วโมง โดยการวัดค่ากำลังส่องสว่างทุก 1,000 ชั่วโมงอย่างน้อย 6,000 ชั่วโมง ค่ากำลังส่องสว่างที่ค่อย ๆ ลดลงจำนวน 6 ค่านี้ถูกนำไปพล็อตกราฟและถูกเทียบ “บัญญัติไตรยางศ์” ให้กลายเป็นค่ากำลังส่องสว่างจนถึงช่วงเวลา 36,000 ชั่วโมงได้ และถ้าทดสอบหลอด LED ในช่วงเวลา 10,000 ชั่วโมง ก็สามารถนำค่ากำลังส่องสว่างที่ได้ไปเทียบ “บัญญัติไตรยางศ์” ให้กลายเป็นค่ากำลังส่องสว่างจนถึงช่วงเวลา 60,000 ชั่วโมงได้ เมื่อค่ากำลังส่องสว่างลดลงเรื่อย ๆ จนถึง 30% ของค่าเริ่มต้น ณ เวลาดังกล่าวจะเป็นเวลาที่ หลอดไฟ LED หมดอายุ
ผลิตภัณฑ์ LED ที่มีตัวควบคุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับ LED drive ในปัจจุบันในระหว่างการดำเนินงานระยะยาวเพื่อรักษาระดับผลผลิตที่ใกล้หรือใกล้ระดับประสิทธิภาพการทำงานเริ่มต้นจะมีผลต่อการบำรุงรักษา LED lumen ดังนั้นจึงต้องระบุว่าการเรียกร้องการบำรุงรักษาลูเมน LED จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพเริ่มต้นเท่านั้น
ดังนั้นการทดสอบหลอดไฟ LED นั้นมีการทดสอบที่เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากลเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟจากบริษัทผู้จำหน่ายนั้น ได้มาตรฐานตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นรายงานผลการทดสอบควรได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของรัฐเช่น สถาบันไฟฟ้าและอิเลคทรอนิค เป็นต้น